มักจะมีการพูดกล่าวกันว่า “คุณเป็นในสิ่งที่คุณอ่าน” แม้ว่าอาจไม่ได้เป็นอย่างนั้นทั้งหมด แต่ลักษณะของข้อมูลใดๆ ที่คุณไปเปิดรับมา ก็จะจัดให้คุณเป็นคนในแบบนั้น ทั้งด้านการพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะในชีวิตส่วนตัว หรือหน้าที่การงานและสายอาชีพ ดังนั้น ในถานะที่เป็นคนต้องการที่จะเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การลองใช้ Clinical blogs ดิฉันมักจะอ่านบทความ ที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ รวมถึงจะไปอ่านในเรื่องอื่นๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ จึงอยากจะมาแบ่งปันในความรู้จากอ่านข้อความ ของการวิจัยทดลองของด้าน Clinical ที่เห็นว่ามีประโยชน์ ดังนี้
1.Lilly Clinical Open Innovation (LCOI) Blog
ถ้าเป็นคนชอบเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ควรพลาด เป็นแหล่งรวมของทีมงาน LCOI โดยให้มีการคุยหารือกันอย่างเปิดกว้างเพื่อให้ก่อเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้มีความเปิดกว้าง
2.Applied Clinical Trials
รวมบทความจาก บรรณาธิการ Lisa Henderson ซึ่งนำความคิดจากผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายในวงการอุสาหกรรม มาไว้ด้วยกัน
3.Molecule – Medicines (Scientific American)
รวมบทความของนายแพทย์ Judy Stone ซึ่งบทความแนะนำวิทยาศาสตร์การแพทย์โมเกกุลและการดูแลสุขภาพ มีข้อมูลที่ท้าทายความคิดมาก
4.Placebo Control
ผลงานของ Paul Ivsin เขาออกตัวใน Twitter ของตนว่า เป็นนักวิชาการเชยๆ ด้าน Clinical trial และไม่ได้เป็นพวกบ้าข้อมูลมากนัก พร้อมจะเลิกเมื่อไรก็ได้
5.Lead CRA
เป็นงานของ Nadia เจ้าหน้าที่ภาคของ CRA มีประสบการณ์ด้านการเดินทางและสำรวจวิจัยในภาคสนามมาก ผู้เขียนค่อนข้างมีความเข้าใจอย่างแท้จริงในเรื่องมุมมองของการค้นคว้าและวิจัย รวมทั้งการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
ไม่นานมานี้ Nadia ได้ตั้ง blog ที่สองคือ Clinical Operations Toolkit ซึ่งแนะนำให้ควรเข้าไปอ่านกันดู
6.Geeks Talk Clinical
นำเสนอเรื่องเทคโนโลยี พูดคุยแลกเปลี่ยน ตรวจสอบผลกระทบและการท้าทายในด้านการพัฒนาของงานการแพทย์และเทคโนโลยี มีการปรับเปลี่ยนและอัพเดทข้อมูลตลอดเวลา
7.Ask Cato
โดย Cato Research เป็นหน่วยงานให้บริการเต็มรูปแบบของ CRO มุ่งข่าวอุสาหกรรมและเรื่องข้อบังคับต่างๆ ใน Ask Cato นี้จะ แจ้งข่าวข้อมูลล่าสุด ในด้าน คำแนะนำของ FDA หรือ อาหารและยา
8.Quorum Blog
ของ Quorum IRB ให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับต่างๆ ในด้านอุตสาหกรรมการแพทย์และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแลกเปลี่ยนข่าวสารด้านงานค้นคว้าใหม่ๆ ด้วย
9.BioMed 2.0
ข้อเขียนใต้สังกัดของสถาบัน Clinical & Translational Science Institue (CTSI) ของมหาวิทยาลัย University of California ณ เมือง San Francisco (UCSF)
Blog นี้จะเน้นในด้านเทคโนโลยี จึงได้กำหนดชื่อ 2.0 ถ้าอธิบายคร่าวๆ ก็คือ เป็นกลุ่มเทคโนโลยี และ การสื่อสาร ค้นคว้าวิจัย เร่งผลการค้นคว้าทาง biomedical
มีข้อสังเกตว่าบางครั้งบทความดูเหมือนจะออกนอกทางของขอบเขต clinical trials
10.Bioclinica
มุ่งลงในหลายเรื่องในด้าน clinical trial technologies ที่รวมถึงเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวกับ CDISC, CTMS, EDC, และอีกมากมาย